จุดเริ่มต้น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA : Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และ ถนัด คอมันตร์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม"ปฏิญญากรุงเทพ " ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย,สิงคโปร์ และ ไทย ได้ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration)
เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้ชื่อ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้“ หรือ “อาเซียน” (ASEAN) ซึ่งเป็นตัวย่อของ Association of SouthEast Asian Nations ชื่อทางการ ในภาษาอังกฤษของอาเซียน ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพฯ รัฐมนตรี-ต่างประเทศของทั้ง 5ประเทศได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการจัดตั้งสมาคมอาเซียนและยกร่างปฏิญญากรุงเทพฯ ที่แหลมแท่น จังหวัดชลบุรี
ภาพประวัติศาสตร์ประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ผ่านมาแล้ว
46 ปี (1967-2013) คือภาพที่ ฯพณฯ นาซิโซ รามอส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์; ฯพณฯอาดัม
มาลิค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย; ฯพณฯ
พันเอก (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย; ตุน อับดุล ราซัค บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย; และฯพณฯ
เอส ราชา รัตนัม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ร่วมลงนามใน“ปฏิญญาอาเซียน” หรือ “ASEAN Declaration” ที่กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีชื่อเต็มว่า Association of Southeast Asian Nations เรียกย่อว่า ASEAN (อาเซียน)
“ปฏิญญา ASEAN” ลงนามกันที่กรุงเทพ
จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า Bangkok Declaration หรือ “ปฏิญญากรุงเทพ” ห้าประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียนคำนึงว่าทุกประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกัน
มีปัญหาร่วมกันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเชื่อมั่นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสามัคคีภาพระหว่างกันให้มั่นคงแนบแน่นต่อไป
ทั้งห้าประเทศปรารถนาที่จะวางรากฐานเพื่อการทำงาน
ร่วมกันสร้างสรรค์ความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้วยมโนสำนึกแห่งความเป็นประเทศที่เท่าเทียมเสมอภาคกัน เป็นมิตรร่วมสมาคมกัน
ร่วมเดินทางไปสู่เป้าหมายอันยิ่งใหญ่พร้อมกัน คือสันติภาพ ความก้าวหน้า
ความมั่งคั่ง และความเจริญรุ่งเรืองอันยั่งยืนความคิดแรกเริ่มมาจาก ดร.ถนัด คอมันตร์ ประเทศต้นความคิด คือ ราชอาณาจักรไทย
อาเซียนเกิดขึ้นมาเพื่อความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อเร่งความเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และเพื่อพัฒนาการทางวัฒนธรรม อาเซียนมีเป้าหมายในการสร้างสันติภาพ ความมั่นคง เคารพในความยุติธรรม ยึดถือกฎหมายเป็นแบบแผนแห่งความสัมพันธ์ระหว่างกัน และยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ
สมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
อาเซียนเกิดขึ้นมาเพื่อความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อเร่งความเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และเพื่อพัฒนาการทางวัฒนธรรม อาเซียนมีเป้าหมายในการสร้างสันติภาพ ความมั่นคง เคารพในความยุติธรรม ยึดถือกฎหมายเป็นแบบแผนแห่งความสัมพันธ์ระหว่างกัน และยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ
สมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย

2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8
ส.ค. พ.ศ.2510 แล้ว
อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ
ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม พ.ศ.2527(ค.ศ. 1984)
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28
กรกฏาคม พ.ศ.2538 (ค.ศ. 1995)
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23
กรกฎาคม พ.ศ.2540 (ค.ศ. 1997)
-สหภาพพม่า (ปัจจุบันเรียกชื่อประเทศว่า
“สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า”) เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ
23 กรกฏาคม พ.ศ.2540 (ค.ศ. 1997)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น